Cisco Enterprise Router & Switch (CERS) (2 Day)

บจ.จีเนียสย์ ดีเวลลอป
ez-admin training center

082-5674413, 095-8635165
contact@ez-admin.com

Cisco Enterprise Router & Switch (CERS) (2 Day)

การคอนฟิก Cisco Router และ Switch เพื่อจัดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระดับองค์กร

     หลักสูตรนี้จะเน้นไปที่การคอนฟิกการทำงานของ Router และ L2/L3 Switch ของ Cisco ในรุ่นที่ใช้งานในระดับองค์กร เช่น รุ่น Catalyst Series รวมถึงกำหนดค่าการทำงานต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน เช่น VLAN, Routing, Inter VLAN, Dynamic Route, Port Security, STP Protocol, EtherChannel และอื่นๆ โดยผ่านการพิมพ์คำสั่ง (Command Line) เพื่อคอนฟิกอุปกรณ์เครือข่ายในระดับสูงทั้ง Router, L2/L3 Switch, ค่าความปลอดภัยต่างๆ และการทำงานที่เกี่ยวข้องบนเครือข่ายระดับ Enterprise โดยเน้นการทำ LAB ด้วยโปรแกรม Packet Tracer เพื่อจำลองการทำงานอุปกรณ์เครือข่ายของ Cisco ได้อย่างใกล้เคียงกับอุปกรณ์จริงที่ทำงานในระดับองค์กรได้เป็นอย่างดี

     สำหรับผู้เรียนที่ผ่านหลักสูตร NS01, NS02 หรือมีพื้นฐานการใช้งานเครือข่ายมาบ้างแล้ว หลักสูตรนี้จะเป็นการต่อยอดและลงรายละเอียดในเรื่องสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงการติดตั้งระบบเครือข่ายในระดับองค์กรได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล ส่งผลการทำงานของระบบที่เราติดตั้งมีประสิทธิภาพที่ดี ง่ายต่อการตรวจสอบและแก้ไขปัญหา

หัวข้อการเรียนมีดังนี้

  1. Basic Cisco Device Configuration
  • กระบวนการบู๊ตและการเก็บค่าคอนฟิก
  • คำสั่งพื้นฐานในการคอนฟิกอุปกรณ์
  • User mode, Privileged mode และ Configuration mode
  • การเปลี่ยนชื่อ Hostname
  • การเซฟค่าคอนฟิกเก็บไว้ในเครื่องแบบถาวร
  • การกำหนดรหัสผ่านเพื่อความปลอดภัยในโหมดต่างๆ
    • รหัสผ่านสำหรับการเข้าถึงผ่านพอร์ต Console
    • รหัสผ่านสำหรับการเข้าสู่โหมด Privileged
    • รหัสผ่านสำหรับการเข้าถึง Telnet
  • ทดสอบการนำเครื่อง PC ใช้ Telnet ไปที่ Router
  • การสร้าง User และ Password สำหรับการ Login
  • กำหนดให้การเข้าถึงผ่านพอร์ต Console ต้อง Login ด้วย Username และ Password
  • คำสั่งลบค่าที่คอนฟิกไว้
  • การ Backup และ Restore ค่าคอนฟิกไปเก็บไว้ที่ TFTP Server
    • การ Backup
    • การ Restore
  • การเคลียร์ค่าคอนฟิกทั้งหมดบน Router และ Switch
  • เคลียร์ค่าคอนฟิก Router
  • เคลียร์ค่าคอนฟิก Switch
  • คอนฟิกค่าพื้นฐาน
  1. Ethernet LAN and Switch
  • เทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่าย LAN
  • เทคโนโลยี Ethernet
  • MAC Address หมายเลขประจำอุปกรณ์เครือข่าย
  • การ์ด Network (Network Interface Card)
  • สาย UTP (Unshielded Twisted Pairs)
  • สาย STP (Shielded Twisted Pairs)
  • หัว RJ-45
  • สายใยแก้วนำแสง Fiber Optic
  • แบบ Multi Mode Fiber (MMF)
  • แบบ Single Mode Fiber (SMF)
  • Hub หรือ Repeater
  • Switch (L2 Switch)
  • Managed Switch
  • L3 Switch
  • การเข้าหัวสาย RJ-45 แบบ Cat5 และ Cat6
    • การเข้าหัว RJ-45 แบบตรง โดยจัดเรียงสีตามมาตรฐาน TIA/EIA 568A
    • การเข้าหัว RJ-45 แบบตรง โดยจัดเรียงสีตามมาตรฐาน TIA/EIA 568B
    • การเข้าหัว RJ-45 แบบไขว้ โดยจัดเรียงสีตามมาตรฐาน TIA/EIA 568A และ TIA/EIA 568B
  • การรับส่งข้อมูลของ Switch และการทำงานของ ARP
    • ARP Request
    • ARP Reply
  • การคอนฟิก Switch
    • การสร้างและกำหนดค่าการทำงานของ VLAN
    • การสร้าง VLAN
    • การเพิ่มพอร์ตเข้า VLAN (Access Port)
    • การสร้างพอร์ต Trunk
    • คำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบค่าการทำงานของ VLAN
  • LAB : VLAN10 และ VLAN20
  • LAB : สร้างพอร์ต Trunk เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง Switch
  • การทำ Inter VLAN ด้วย Router
  • คำสั่ง Router (Inter VLAN)
  • LAB : Inter VLAN
  • การทำ IP DHCP Helper เพื่อแจก IP ข้าม VLAN
  • LAB : DHCP Helper
  • การทำ VTP (VLAN Trunking Protocol)
    • คำสั่งเปิดการทำงานในโหมด VTP Server
    • คำสั่งเปิดการทำงานในโหมด VTP Client
    • คำสั่งเปิดการทำงานในโหมด Transparent
    • คำสั่งตรวจสอบสถานะการทำงานของ VTP
  • LAB : VTP Server, Client, Transparent
  • การทำ EtherChannel
  • LAP : EtherChanel บนพอร์ต Trunk
  • Switch1 และ Switch2
  • การทำงานของ STP
    • การทำงานของ BPDU
    • คำสั่งที่ใช้ตรวจสอบค่าการทำงานของ STP
    • กำหนดค่า Priority ด้วยตัวเอง
  • การคอนฟิก Switch L3
    • การสร้าง VLAN บน Switch L3
    • การเพิ่มพอร์ตเข้า VLAN (Access Port) บน Switch L3
    • การสร้างพอร์ต Trunk บน Switch L3
    • การเปลี่ยนจากพอร์ต Layer2 เป็นพอร์ต Layer3
    • การกำหนด IP ให้กับ VLAN ต่างๆ บน Switch L3 (SVI : Switch Virtual Interface)
    • การกำหนด IP ให้กับ VLAN 1 (Default VLAN) บน Switch L3 การทำ ip routing บน Switch L3
    • การทำ IP DHCP Helper เพื่อแจก IP ข้าม VLAN
  1. Routing
  • Router มีหลักการทำงานอย่างไร
  • การค้นหาเครือข่ายปลายทาง
  • การนับจำนวน Hop Count
  • Routing Protocol
  • IP Routing
  • Static Route
  • Default Route
  • Dynamic Route แบบ RIP V.2
  • Dynamic Route แบบ OSPF
  • Dynamic Route แบบ EIGRP
  1. Wireless LAN
  • รู้จักเครือข่าย Wireless LAN
  • หลักการติดต่อและรับส่งข้อมูลของเครือข่ายไร้สาย
  • มาตรฐาน 11 ที่ใช้กับเครือข่าย Wireless LAN
  • ข้อห้ามทางกฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับการติดตั้งเครือข่าย Wireless LAN
  • ข้อดี-ข้อเสียของ Wireless LAN
  • ข้อแตกต่างของการเลือกใช้ย่านความถี่ 4GHz และ 5GHz
  • อุปกรณ์บนเครือข่าย Wireless LAN
  • เสาอากาศ (Antenna)
  • เสาภายนอกและเสาภายใน
  • การกระจายสัญญาณของเสาแต่ละประเภท
  • โหมดการทำงาน Wireless LAN
  • การออกแบบเครือข่ายไร้สายและการทำ Site Survey
  • วาง Access Point ในตำแหน่งที่เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางที่จะมาลดทอนสัญญาณ
  • หลักการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายภายนอกให้มีประสิทธภาพที่ดี
  • การจัดการความถี่ของช่องสัญญาณ Access Point
  • อาการของการใช้ช่องสัญญาณที่มีการรบกวนกัน
  • การกำหนดช่องสัญญาณเพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนกัน
  • ควบคุมทิศทางการแพร่กระจายสัญญาณด้วยเสาแบบ Direction
  • การเพิ่มคุณภาพและความแรงของสัญญาณ
  • การเดินตรวจสอบคุณภาพของสัญญาณ Site Survey
  • กำหนดค่าการทำงานของ Wireless Lan Controller และ Light Weight Access Point
  1. Network Security
  • รูปแบบการโจมตีและภัยคุกคามต่างๆ
  • พอร์ตอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีของ Hacker
  • Switch & Router Password
  • Secure Virtual Logins
  • Configuring SSH
  • การ Remote Login ผ่าน SSH
  • ค่า Privileged Level
  • เงื่อนไขของการกำหนดค่า Privilege Levels
  • การทำ Port Security
  • LAB : Port Security และการเปลี่ยนโหมด
  • การคอนฟิก NAT
  • การทำ Access Control List (ACL)
  • ประเภทของ ACL
    • คำสั่งที่ใช้ในการกำหนดค่าแบบ Standard ACL
    • คำสั่งที่ใช้ในการกำหนดค่าแบบ Extended ACL
    • คำสั่งที่ใช้ในการกำหนดค่าแบบ Name ACL
  • การ Login แบบ AAA (802.1x) เพื่อเข้าสู่ระบบ ให้ปลอดภัยมากขึ้น
    • ตัวอย่างคำสั่งที่ใช้เปิดการทำงานของ Radius Server และการสร้าง User Accounts
  • ปิด Service ที่ไม่จำเป็น
    • ปิด ICMP MTU Discovery
    • ปิด ICMP Redirect --- ขาออก
    • ICMP Redirects ขาเข้า
    • ปิด ICMP Mask Reply
    • ปิด ICMP Directed Broadcast
    • ปิด Small Services
    • ปิดการใช้งาน Finger
    • ปิด CDP Services
    • ปิดบริการ Proxy ARP
    • การ Disable BooTP Server
  • ป้องกันการถูก Broadcast Storm
  • ป้องกันการถูก ARP Poisoning
  • การทำ DHCP Snooping

หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร เรียนแล้วจะได้อะไร?

  1. ผู้ที่ต้องการเรียนรู้ขั้นตอนการวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระดับองค์กรแบบครบวงจร ทั้งขนาดเล็กและกลางที่ได้มาตรฐานสากล และสามารถต่อยอดไปใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ได้ โดยเน้นไปที่อุปกรณ์เครือข่ายของ Cisco
  2. ผู้ที่ต้องการออกแบบระบบเครือข่ายได้อย่างถูกต้อง สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด โดยมีความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ

พื้นฐานของผู้เรียน

      ผู้เรียนควรผ่านหลักสูตร Basic Network (NS01) หรือมีพื้นฐานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาบ้างแล้ว เช่น มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของ TCP, กำหนดค่า IP Address ให้กับเครื่องต่างๆ ในเน็ตเวิร์กได้อย่างถูกต้อง หรือสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเน็ตเวิร์กเบื้องต้นได้