คลิกอ่านหลักสูตรเกี่ยวกับ MikroTik Router

บจ.จีเนียสย์ ดีเวลลอป
ez-admin training center

082-5674413, 095-8635165
contact@ez-admin.com

          สำหรับคอร์สอบรม MikroTik Router จะแบ่งออกเป็น 4 Level เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การคอนฟิกอุปกรณ์ MikroTik เพื่อทำระบบอินเทอร์เน็ตในแต่ละระดับได้อย่างเข้าใจ ซึ่งประกอบไปด้วยหลักสูตร ดังนี้

1. MikroTik Router Level 1 : ติดตั้งและจัดการอินเทอร์เน็ต HOTSPOT SERVER ด้วย MIKROTIK Router

2. MikroTik Router Level 2 : ติดตั้ง Multi LAN, Multi Hotspot, VLAN, VPN และ Routing 

** รับผู้เข้าอบรมรอบละ 6-8 ท่านเท่านั้น เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้จับอุปกรณ์จริง และคอนฟิกค่าต่างๆ ให้กับอุปกรณ์ด้วยตัวเอง สอนเพื่อนำไปใช้งานได้จริงทันที

          หลักสูตรนี้ผู้เรียนจะได้ทำความรู้จัก Router อัจฉริยะที่ชื่อ MikroTik Routerboard โดยเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพสูงและมีความสามารถที่หลากหลาย รองรับการติดตั้งระบบต่างๆ ได้ด้วยอุปกรณ์เพียงตัวเดียว แต่มีราคาไม่แพง ซึ่งผู้เรียนจะได้คอนฟิกระบบเหล่านี้ขึ้นมาด้วยตัวเอง เช่น…การติดตั้งระบบเครือข่ายปัจจุบันมีความหลากหลายมากขึ้น เช่น ระบบควบคุมการใช้งานเครือข่ายไร้สาย (WiFi Hotspot), ระบบ Load Balance เพื่อแชร์การใช้งานอินเทอร์เน็ต, ระบบเชื่อมโยงเครือข่าย, ระบบควบคุมเวลาใช้งานอินเทอร์เน็ต, การบล็อกเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมหรือโปรแกรม BitTorrent ซึ่งการติดตั้งระบบเหล่านี้อาจจำเป็นต้องใช้เครื่อง Server หรืออุปกรณ์ที่มีราคาแพงหลายตัว ทำให้อาจไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่มีงบจำกัด

รายละเอียดหลักสูตร

  1. รู้จักกับ MikroTik และคุณสมบัติเด่นต่างๆ
  2. กำหนดค่าให้ MikroTik เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
    • การสร้าง PPPoE
    • การทำ Route เพื่อส่งแพ็กเก็ตออกไปยังเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
    • การกำหนด DNS และการทำ Static DNS
  3. กำหนดค่าการทำงานเริ่มต้นของ MikroTik
    • การสร้าง Bridge
    • การกำหนดพอร์ตเข้าไปใน Bridge
    • การกำหนด IP ให้กับ Interface ภายใน
    • หลักการการแยก Interface เพื่อสร้าง LAN หลายๆ วง
    • การเปิด DDNS ของ MikroTik
    • การเคลียร์ค่าคอนฟิก
    • การ Backup และ Restore ค่าคอนฟิก
    • กำหนดรหัสพาสเวิร์ดของ MikroTik
    • ซิงค์เวลามาตรฐานให้กับ MikroTik
  4. การกำหนดค่า DHCP Server และการป้องกัน DHCP แปลกปลอมเข้ามาในระบบ
    • การสร้าง DHCP Server
    • การแก้ไขค่าการทำงานของ DHCP Server
    • แจก IP แบบ Static
    • กำหนดค่า DHCP Alert เพื่อตรวจสอบและแจ้งเตือนเมื่อพบ DHCP แปลกปลอมเข้ามาในระบบ
    • กำหนดให้ Client ต้องรับ IP จาก DHCP Server เท่านั้นจึงจะสามารถออกอินเทอร์เน็ตได้
  5. การติดตั้งและคอนฟิก Wireless Hotspot Server
    • การสร้าง Hotspot Server
    • การสร้าง Profiles และ User account สำหรับใช้งาน Hotspot
    • การสร้าง Profile แบบทดลองใช้งาน
    • กำหนดค่าการทำงานของ Cookies และ MAC Cookies
    • จำกัดระยะเวลาการใช้งาน Hotspot ของ Users แต่ละคน
  6. การจัดการระบบ User ของ Hotspot ด้วยโปรแกรม User Manager
    • ตรวจสอบการติดตั้งแพ็กเก็ตของโปรแกรม User Manager
    • การเชื่อมต่อระหว่าง MikroTik กับโปรแกรม User Manager
    • การเปลี่ยนพอร์ตและเรียกใช้งานโปรแกรม User Manager
    • การสร้าง Profiles และ User account ในโปรแกรม User Manager
    • การสร้างและปรับแต่งคูปองให้กับผู้ใช้งาน
  7. การกำหนดค่าพื้นฐานการทำงานของ Firewall และ Address List บน Mikrotik เพื่อป้องกันการโจมตีหรือการเข้าถึงเว็บไซต์และบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
    • พื้นฐานและคำสั่งต่างๆ ที่สำคัญของ Firewall
    • การใช้ Firewall การบล็อกการโจมตีต่างๆ จากภายนอกหรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
    • การใช้ Firewall การบล็อกเว็บไซต์
    • การสร้าง Address List เพื่อใช้งานร่วมกับ Firewall และ Hotspot Server
    • การใช้ Firewall ล็อก IP กับ MAC Address ของผู้ใช้
    • การใช้ Firewall ร่วมกับ Layer 7 Filter
  8. การควบคุมความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตของ User ด้วย Queues ทั้งแบบ Static และแบบ Dynamic (Share)
    • การควบคุมความเร็วแบบคงที่ด้วย Simple Queues
    • การควบคุมความเร็วแบบแชร์ด้วย PCQ
    • การควบคุมความเร็วของแอปพลิเคชั่นต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต เช่น การดูวิดีโอบน Youtube หรือการเล่น Facebook
  9. การส่ง Logs ของ MikroTik ไปเก็บไว้ที่ Syslog Server
    • การเลือกโปรแกรม Syslog
    • การติดตั้งโปรแกรม Kiwi Syslog
    • การกำหนดค่าให้ MikroTik ส่ง Logs ไปเก็บไว้ที่ Syslog
  10. การทำ Port Forward ให้กับ MikroTik
    • วางแผนการทำ Port Forward
    • การทำค่า Port Forward ที่ MikroTik
  11. การตรวจสอบและมอนิเตอร์การทำงานของ MikroTik
    • ตรวจสอบและมอนิเตอร์การใช้งานของเครื่อง Client ผ่าน MikroTik
    • การสร้างกราฟเพื่อตรวจสอบ Bandwidth การใช้งานย้อนหลัง
  12. กำหนดค่าและควบคุมการทำงานของ Load Balance ทั้งแบบที่มีความเร็วเท่ากันและแบบที่มีความเร็วไม่เท่ากัน
    • การกำหนดพอร์ตสำหรับทำ Load Balance
    • การทำ Load Balance ในกรณีที่อินเทอร์เน็ตมีความเร็วเท่ากัน
    • การทำ Load Balance ในกรณีที่อินเทอร์เน็ตมีความเร็วไม่เท่ากัน
    • การตรวจสอบและแก้ปัญหาในกรณีที่ทำ Load Balance แล้วเครื่องภายนอกไม่สามารถเชื่อมต่อเข้ามาที่ Server ภายในได้

ประโยชน์ที่ได้รับจากการอบรม

         ประหยัดงบประมาณการติดตั้ง Firewall หรือการซื้อเครื่อง Server และ Software ที่จะใช้ในการติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย เพราะ MikroTik Router รวม Hardware และ Software อยู่ภายในเครื่องแล้ว และมีราคาที่ถูกว่าการแยกซื้อเครื่อง Server หรือ Software มาก
ติดตั้งง่าย ไม่ยุ่งยาก มีเสถียรภาพสูง และประหยัดไฟ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ขนาดเล็กที่ไม่กินไฟ รวมถึงผ่านการออกแบบมาอย่างดีโดยใช้บอร์ดและซีพียูที่เหมาะกับการทำงานตลอด 24 ชั่วโมง

คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม

          ผู้เข้าอบรมควรมีพื้นฐานความรู้ทางด้านระบบเครือข่าย (Network) เบื้องต้นมาพอสมควร เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น และท่านสามารถเข้าใจในเนื้อหาที่อบรมเพื่อนำไปใช้งานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

**สำหรับรายละเอียดการอบรมนี้ใช้ได้กับอุปกรณ์ MikroTik Routerboard ทุกรุ่น

ระยะเวลาอบรม 3 วัน ราคา 4,900 บาท (ราคาก่อน VAT) อบรมทั้ง 2 Level เหมาจ่ายที่ 9,000 บาท

          MikroTik Level 2 : การติดตั้ง Multi LAN, Multi Hotspot, VLAN, VPN และ Routing ด้วย MikroTik Router เป็นการติดตั้งและพัฒนาระบบเครือข่ายด้วย Router อัจฉริยะ Mikrotik ที่มีราคาประหยัด มีเสถียรภาพสูง แต่สามารถทำงานต่างๆ ได้เทียบเท่ากับ Firewall, L3 Switch และ Router ราคาแพง เช่น การทำ VPN และ Routing เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายหรือสาขาที่อยู่ห่างไกลเข้าด้วยกัน, การจัดการระบบเครือข่ายให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการสร้าง VLAN, การทำระบบ Internet Hotspot ให้มีความปลอดภัยมากขึ้นด้วยการแยกเครือข่าย WiFi ออกจากเครือข่ายภายใน และการแยกโปรแกรมต่างๆ หรือแต่ละเครือข่ายให้วิ่งออกเส้นอินเทอร์เน็ตที่ต้องการ รวมถึงกำหนดกฏข้อบังคับการใช้งานที่มีความแตกต่างกันเป็นต้น

 รายละเอียดหลักสูตร

1. การทำ Multi LAN และ Multi WAN เพื่อแยกโปรแกรมต่างๆ เช่น เกม, วิดีโอ, เพลง หรือแต่ละเครือข่ายให้วิ่งออกเส้นอินเทอร์เน็ตตามที่ต้องการ รวมถึงการสร้าง Multi Internet Hotspot ที่แยกวงสำหรับให้บริการลูกค้าภายนอกกับเครือข่ายภายในที่มีข้อมูลสำคัญออกจากกันและกำหนดกฏควบคุมการใช้งานไม่เหมือนกัน

2. การทำ VLAN เพื่อปรับปรุงระบบเครือข่ายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงสามารถลดความยุ่งยากในการจัดการและลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบเครือข่าย โดยจะสร้าง VLAN ทั้งที่อยู่บนอุปกรณเดียวกัน หรือสามารถส่งหลายๆ VLAN (หลายๆ เครือข่าย) เพียงแค่พอร์ตเดียวไปยังอุปกรณ์ MikroTik อีกตัวที่อยู่คนละฝั่งหรือคนละเครือข่ายเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินสายเคเบิ้ล

3. การทำ VPN เพื่อเชื่อมโยงระหว่างสาขาต่างๆ ที่อยู่ห่างไกลให้สามารถแลกเปลี่ยนทรัพยากรร่วมกันได้และจัดตั้งระบบที่สามารถเข้าใช้งานระบบเครือข่ายได้จากที่ไหนก็ได้ในโลก ทั้งแบบ Client To Site (Remote Access) หรือแบบ Site To Site ด้วยมาตรฐาน PPTP และ IPSec

4. การทำ Routing เพื่อกำหนดเส้นทางการรับส่งข้อมูลและเชื่อมโยงเครือข่ายต่างๆ ให้สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ ทำให้ระบบเครือข่ายสามารถทำงานได้รวดเร็วและมีความปลอดภัยมากขึ้น

ระยะเวลาอบรม 2 วัน ราคา 4,900 บาท

     หลักสูตรที่จะคอนฟิก Mikrotik ในระดับที่ลึกขึ้นเพื่อให้ทำหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพการทำงานของระบบเครือข่ายทั้ง 3 ด้าน คือ Firewall, Hardening และ Traffic Control

     การคอนฟิก Mikrotik ในด้าน Firewall เพื่อป้องกันความปลอดภัยให้กับระบบเครือข่าย โดยจะเน้นไปที่คำสั่งและความสามารถที่สำคัญต่างๆ ของ Firewall ใน Mikrotik เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างกฏของ Firewall ด้วยตัวเองได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องพึ่งสคริปต์ของคนอื่น

     Mikrotik มักมีความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีจากภัยคุกคามต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การคอนฟิกด้าน Hardening จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะป้องกันไม่ให้ Mikrotik ถูกโจมตีจาก Hacker หรือไวรัสต่างๆ และการรู้จักวิธีปิดช่องโหว่ที่ร้ายแรง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดีที่จะใช้ช่องโหว่เหล่านี้เข้ามาสร้างความเสียหายกับตัว Mikrotik ของเราได้

     การคอนฟิก Mikrotik ในด้าน Traffic Control เพื่อควบคุมความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตและระบบเครือข่ายได้อย่างเหมาะสมกับปริมาณการใช้งาน จำนวนผู้ใช้ หรือ Bandwidth ที่มี ทำให้การทำงานของผู้ใช้มีความเร็วที่เพียงพอ สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น ไม่ติดขัด ทำให้ไม่จำเป็นต้องเพิ่มความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติเด่นอีกด้านหนึ่งของตัว Mikrotik

     การเรียนรู้ในหัวข้อต่างๆ ที่สำคัญเหล่านี้ จะประกอบด้วยหัวข้อย่อยๆ อีกจำนวนมาก โดยผู้เรียนจะได้ทดลองคอนฟิกจริงเพื่อทำความเข้าใจผ่าน LAB ในรูปแบบของ Workshop ต่างๆ ทำให้ถึงแม้บางเรื่องจะเป็นเรื่องที่ซับซ้อนแต่เมื่อผ่านการทำ LAB ไปแล้ว ผู้เรียนจะสามารถเข้าใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปปรับใช้กับการทำงานจริงได้ด้วยตัวเอง

หัวข้อการอบรมมีรายละเอียดดังนี้

  1. ช่องโหว่และจุดอ่อนของ Mikrotik
  2. ความปลอดภัยของ Mikrotik และการคอนฟิก Winbox เพื่อปิดช่องโหว่ต่างๆ ให้ปลอดภัย
  3. การออกแบบและวางตำแหน่งของ Firewall ให้ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยทั้งเครือข่ายภายในและภายนอก
  4. หลักการสร้างกฏของ Firewall ใน Mikrotik
  5. ทำความเข้าใจกับฟังก์ชั่นและคำสั่งต่างๆ ที่สำคัญของ Firewall ใน Mikrotik
  6. การอ่าน Packet Flow ของ Mikrotik ให้เข้าใจและนำไปใช้งานได้
  7. รู้จักและทำความเข้าใจกับ Connection Tracking
  8. การคอนฟิกและรู้จักสถานะต่างๆ ของ Connection State เพื่อความปลอดภัยของ Mikrotik
  9. การคอนฟิก Firewall เพื่อป้องกันการโจมตีจาก Hacker และ Virus ทั้งจากเครือข่ายภายในและภายนอก
  10. รู้จักการใช้ Mangle เพื่อควบคุมการทำงานโดยการทำ Mark Connections และ Packets
  11. การคอนฟิก Firewall เพื่อบังคับ Packet จากเครื่อง Client ให้ออกไปยังทิศทางหรือพอร์ตปลายทางที่ต้องการ
  12. ทดสอบการโจมตีแบบ DDoS และการคอนฟิก Firewall เพื่อป้องกัน
  13. ทดสอบการสแกนพอร์ตและการคอนฟิก Firewall เพื่อป้องกัน
  14. การดักจับ Packet ในระดับ Layer 7 เพื่อสร้างกฏควบคุมการใช้งานต่างๆ ของเครื่อง Client
  15. การทำ Port Knocking เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับ Services ต่างๆ ที่เปิดให้เครื่องจากภายนอก (WAN) เข้ามาใช้บริการในเครือข่าย LAN
  16. ทำความรู้จักกับการทำงานของ QoS และประเภทของ Queue ใน Mikrotik
  17. ทำความเข้าใจกับ Hierarchical Token Bucket (HTB) ที่เป็นส่วนสำคัญในการทำ QoS
  18. การคอนฟิก HTB Queue Tree
  19. การคอนฟิก PCQ เพื่อเฉลี่ยความเร็วให้กับเครื่อง Client ตามความเหมาะสมกับ Bandwidth ที่มี
  20. การใช้ Mangle จับ Packets เพื่อกำหนดความเร็วใน Queues ตามที่ต้องการ
  21. การทำ Dynamic Queues เพื่อจัดสรรและเปลี่ยนแปลงความเร็วตามช่วงเวลาหรือการใช้งานของเครื่อง Client โดยอัตโนมัติ

หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร เรียนแล้วจะได้อะไร?

  1. ผู้ต้องการใช้ Mikrotik เป็น Firewall อย่างจริงจัง ไม่ได้เป็นเพียงแค่ Gateway ที่ใช้ในการออกอินเทอร์เน็ตได้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องสามารถป้องกันการโจมตีจากภัยคุกคามต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ไม่ว่าจะเป็น Hacker หรือไวรัสต่างๆ
  2. ต้องการเข้าใจการทำงานของ Firewall ใน Mikrotik เพื่อเรียนรู้วิธีการวางตำแหน่งของ Firewall, การออกแบบกฏ และความสำคัญของการจัดเรียงกฏ และคำสั่งต่างๆ ที่ใช้ควบคุมการทำงานของ Firewall ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างกฏให้เหมาะสมกับการทำงานของตัวเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งสคริปต์ต่างๆ ของผู้อื่น
  3. ต้องการนำ Mikrotik มาแทนที่ Firewall เดิมที่มีราคาสูง ในบางครั้งงานของเราอาจไม่มีความจำเป็นต้องใช้ Firewall ประเภท Application Firewall หรือ NextGen Firewall ที่มีราคาสูง และมีค่า MA รายปีที่ต้องจ่าย เราก็สามารถใช้ Mikrotik เข้ามาแทนที่ Firewall เหล่านั้นได้ แต่อย่างไรก็ตามควรศึกษาถึงข้อดีและข้อเสียของการใช้งาน Mikrotik เมื่อเปรียบเทียบกับ Firewall เดิมที่มีการใช้งานอยู่แล้วด้วย
  4. ต้องการป้องกันไม่ให้ Mikrotik ถูก Hack เนื่องจาก Mikrotik เป็นอุปกรณ์ Network ที่มีความสามารถหลากหลาย ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าต้องการคอนฟิกให้ทำงานด้านใด ดังนั้นหากคอนฟิกไม่ดีก็อาจทำให้มีช่องโหว่จนผู้ไม่หวังดีสามารถเข้ามาโจมตี Mikrotik ของเราได้ หลักสูตรนี้จะแนะนำวิธีการทำ Hardening เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงไม่ให้ Mikrotik ถูก Hack หรือถูกโจมตีด้วยวิธีการต่างๆ
  5. ต้องการควบคุมความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบมีคุณภาพ Mikrotik มีความสามารถที่โดดเด่นในเรื่องของการจัดการ Bandwidth หรือ Traffic Control เพื่อบริการจัดการความเร็วในระบบเครือข่ายหรืออินเทอร์เน็ตที่มีอย่างจำกัดให้สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสมและราบรื่นไม่ติดขัด โดยไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ราคาแพงเพื่อมาควบคุมปัญหาด้านนี้โดยเฉพาะ

 พื้นฐานของผู้เรียน

ผู้เรียนควรผ่านการอบรมในหลักสูตร Mikrotik Level 1 มาก่อน หรือมีประสบการณ์ใช้งาน Mikrotik มาบ้างแล้ว และควรมีพื้นฐานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระดับเริ่มต้น เช่น มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของ TCP, กำหนดค่า IP Address ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ในเน็ตเวิร์กได้อย่างถูกต้อง

ระยะเวลาอบรม 2 วัน ค่าบริการอบรมก่อน VAT = 5,500 บาาท